หลักฐานอื่น ๆ ของ สมมติฐานโลกยุติธรรม

หลังจากงานแรก ๆ ของ ศ.เลอร์เนอร์ ก็มีนักวิจัยอื่นที่ทำซ้ำผลที่พบนี้ได้ในสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผู้รับเคราะห์งานประเด็นนี้ที่เริ่มตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1970 จนมาถึงทุกวันนี้ ตรวจสอบว่า ผู้สังเกตการณ์จะตอบสนองต่อผู้รับเคราะห์ในเหตุการณ์ทั่ว ๆ ไป เช่นอุบัติเหตุรถยนต์ การข่มขืน การกระทำทารุณกรรมต่อคนในบ้าน ความเจ็บป่วย และความยากจน อย่างไร[1]โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว นักวิจัยพบว่า ผู้สังเกตการณ์มักจะทั้งโทษและดูถูกผู้รับเคราะห์ดังนั้น ผู้สังเกตการณ์จะดำรงความเชื่อเรื่องโลกยุติธรรม โดยเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับลักษณะนิสัยของผู้รับเคราะห์[15]

ในต้นคริสต์ทศวรรษ 1970s นักจิตวิทยาสังคมคู่หนึ่ง พัฒนาการวัดค่าความเชื่อเรื่องโลกยุติธรรม[16]ซึ่งต่อมาปรับปรุงในปี 1975 โดยเพิ่มคำถามเพื่อใช้วัดความเชื่อในด้านต่าง ๆ[17]และงานศึกษาในทฤษฎีนี้ต่อ ๆ มาก็ได้ใช้วิธีการวัดค่านี้

การกระทำทารุณ

นักวิจัยได้ตรวจสอบว่า ผู้สังเกตการณ์ตอบสนองต่อผู้รับเคราะห์ในเรื่องการข่มขืนหรือทารุณกรรมอย่างอื่น ๆ อย่างไรในงานศึกษาต้นแบบปี 1985 เรื่องการข่มขืนกับทฤษฎีนี้ นักวิจัยได้ให้บทความเล่าเรื่องปฏิสัมพันธ์ระหว่างหญิงกับชายคู่หนึ่งกับผู้ร่วมการทดลอง 2 กลุ่มแต่บทความต่างกันในช่วงสุดท้ายของเรื่อง กลุ่มหนึ่งเป็นการจบเรื่องแบบไม่มีอะไร อีกลุ่มหนึ่งจบโดยที่ชายคนนั้นข่มขืนผู้หญิงแต่ผู้ร่วมการทดลองกลับตัดสินว่า การจบด้วยการข่มขืนเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และโทษผู้หญิงว่าถูกข่มขืนเพราะพฤติกรรมของตน แต่ไม่ใช่เพราะลักษณะนิสัย[18]เป็นผลการทดลองที่ทำซ้ำ ๆ ได้ ไม่ว่าจะจบด้วยการข่มขืน หรือจบด้วยความสุขคือการขอแต่งงาน[2][19]

นักวิจัยอื่น ๆ พบปรากฏการณ์เดียวกันในการประเมินพฤติกรรมรุนแรงต่อคู่ครองงานศึกษาหนึ่งพบว่า การติเตียนโทษผู้รับเคราะห์หญิง จะรุนแรงขึ้นเมื่อระดับความสัมพันธ์ระหว่างคู่ครองสูงขึ้น (เช่นรู้จักกัน อยู่ด้วยกัน หรือแต่งงานกัน)ยกเว้นการโทษผู้ชายในกรณีที่รุนแรงถึงกับตีผู้หญิง[20]

พฤติกรรมอันธพาล

นักวิจัยได้พยายามใช้สมมติฐานนี้เพื่ออธิบายพฤติกรรมระราน (Bullying คือทำตัวเป็นอันธพาล)เพราะผลงานที่ได้เรื่องความเชื่อว่าโลกยุติธรรม จึงคาดหวังกันว่า ผู้สังเกตการณ์จะดูถูกและโทษผู้รับเคราะห์จากพฤติกรรมอันธพาล แต่ผลที่พบกลับตรงกันข้าม คือผู้สังเกตการณ์ที่เชื่อเรื่องโลกยุติธรรมในระดับสูง กลับมีทัศนคติต่อต้านพฤติกรรมระรานในระดับที่สูงกว่า (แทนที่จะโทษผู้รับเคราะห์ตามที่คาดหวัง)[21]

นักวิจัยอื่นพบว่า ความเชื่อเรื่องโลกยุติธรรมที่มีกำลัง สัมพันธ์กับพฤติกรรมอันพาลในระดับที่ต่ำกว่า[22]ซึ่งเข้ากับแนวคิดของ ศ.เลอร์เนอร์ ว่าความเชื่อนี้มีผลเป็น "สัญญา" กับโลกที่ควบคุมความประพฤติ[5]มีหลักฐานอื่น ๆ ที่แสดงว่า ความเชื่อว่าโลกยุติธรรม มีผลช่วยป้องกันความเป็นสุขของเด็ก ๆ และวัยรุ่นในโรงเรียนจากพฤติกรรมอันธพาล[23]ดังที่ได้พบได้ในชนทั่วไป

ความเจ็บป่วย

นักวิจัยอื่นพบว่า ผู้สังเกตการณ์โทษคนป่วยสำหรับความเจ็บป่วยของตนงานทดลองหนึ่งแสดงว่า คนที่ป่วยเป็นโรคต่าง ๆ ถูกดูถูก วัดโดยการให้คะแนนว่าสวยหรือหล่อ มากกว่าคนสุขภาพดีความเจ็บป่วยที่ได้รับการศึกษารวมทั้ง อาหารไม่ย่อย ปอดบวม และมะเร็งที่ท้องนอกจากนั้นแล้ว ระดับความดูถูกยังเพิ่มขึ้นในคนที่ป่วยหนักกว่า ยกเว้นโรคมะเร็ง[24]ระดับความเชื่อเรื่องโลกยุติธรรมที่สูงกว่า ก็สัมพันธ์กับการดูถูกผู้ป่วยโรคเอดส์ในระดับที่สูงกว่าด้วย[25]

ความยากจน

ในงานศึกษาต่อ ๆ มา นักวิจัยตรวจดูปฏิกิริยาต่อความยากจนในมุมมองของความเชื่อนี้ความเชื่อที่มีกำลัง สัมพันธ์กับการโทษคนจน ในขณะที่ความเชื่อที่อ่อนกำลัง สัมพันธ์กับการชี้เหตุผลภายนอกของความยากจน รวมทั้ง ระบบเศรษฐกิจโลก สงคราม และการขูดรีดเอาผลประโยชน์[26][27]

ถ้าตนเองเป็นผู้รับเคราะห์

งานวิจัยบางงานในเรื่องนี้ ตรวจสอบปฏิกิริยาของตนเองเมื่อตนเป็นผู้รับเคราะห์งานวิจัยในปี 1979 พบว่าผู้ถูกข่มขืนมักจะโทษพฤติกรรมของตน แต่จะไม่โทษลักษณะนิสัย[28]ซึ่งมีสมมติฐานว่า การโทษพฤติกรรมของตนทำให้เหตุการณ์ดูเหมือนจะควบคุมได้

งานศึกษาผู้รับเคราะห์ในเรื่องการกระทำทารุณ ความเจ็บป่วย ความยากจน และในเรื่องอื่น ๆ ได้ให้หลักฐานที่สม่ำเสมอสนับสนุนความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อเรื่องโลกยุติธรรมกับความโน้มเอียงที่จะโทษผู้รับเคราะห์[1]และดังนั้น สมมติฐานโลกยุติธรรมได้กลายเป็นทฤษฎีที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง

ใกล้เคียง

สมมติฐานโลกยุติธรรม สมมติฐาน สมมติฐานของค็อค สมมติฐานประสิทธิภาพของตลาด สมมติฐานโลกของ RNA สมมติฐานความต่อเนื่อง สมมติสงฆ์ สมมติฐานเนบิวลา สมมติฐานทางสัญญาณสองทาง สมมติฐานเฉพาะกิจ

แหล่งที่มา

WikiPedia: สมมติฐานโลกยุติธรรม http://www.brocku.ca/psychology/people/Hafer_Begue... http://www.units.muohio.edu/psybersite/justworld/i... http://www.scu.edu/ethics/publications/iie/v3n2/ju... http://www.peplaulab.ucla.edu/Publications_files/R... http://www.peplaulab.ucla.edu/Publications_files/R... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/5969146 //doi.org/10.1037%2F0033-2909.131.1.128 //doi.org/10.1037%2Fh0023562 //doi.org/10.1111%2Fj.1540-4560.1973.tb00104.x //doi.org/10.1111%2Fj.1540-4560.1975.tb00997.x